การประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนเริ่มมีความแพร่หลายเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเป็นเพราะแผงโซล่าเซลล์มีราคาถูกลงมาก และการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม มีประโยคคำอยู่อย่างหนึ่งซึ่งยังสามารถได้เป็นอย่างดีคือ ของดีย่อมไม่ถูก ของถูกย่อมไม่ดี ทางเราย้ำกับแฟนๆ เอ็นจินีโอ เสมอว่า หากจะลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า ราคาเพียงอย่างเดียวน่าจะไม่ใช้คำตอบเพราะหากซื้อมาแล้วใช้งานไม่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรกับขยะ หรือติดตั้งระบบแล้วเจอคนขายปิดบริษัทหนีปัญหาก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ก่อนที่จะคิดติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โทรมาปรึกษาเรา เรามีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ทำงานด้านพลังงานมาโดยตลอด มีผลงานเด่นๆ มากกว่า 100 โครงการ ที่นี่เรามีวิศวกรคอยให้คำปรึกษา ที่สำคัญฟรี.. หากท่านไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด ก็อาจจะเข้าตำราที่ว่าได้ไม่คุ้มเสีย
วันนี้เรามีความภูมิใจ ที่จะนำเสนอโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากผลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งดูเหมือนจะไม่แตกต่างจากโครงการอื่นๆ แต่มีจุดเด่นคือ การออกแบบและวางแผงโซล่าเซลล์ สามารถใช้ประโยชน์จากร่มเงาของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยใช้เป็นที่จอดรถยนต์และจักรยานยนต์ ไฟฟ้าที่ได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ นำไปใช้สำรองไฟฟ้าให้กับ คลีนิค ซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จึงทำให้เกิดปัญหาไฟตกไฟดับบ่อย นอกจากนีระบบผลิตไฟฟ้านี้ได้ถูกออกแบบให้ไฟฟ้าที่ผลิตได้ในเวลากลางวันสามารถขนานเข้ากับระบบ เพื่อนำไฟฟ้าที่ผลิตได้นำไปลดค่าไฟฟ้า เพื่อประหยัดกับพลังงานในอาคารได้อีกส่วนหนึ่งด้วย รูปแบบของการทำงานสามารถดูได้ตามรูป ที่ 1
รูปที่ 1 ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ แบบ Grid interactive
การทำงานของระบบนี้คือนำเอาข้อดีของระบบ ผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อสายส่ง กับระบบผลิตไฟฟ้าแบบไม่เชื่อมต่อสายส่งมารวมกันคือ หากไฟฟ้าหลักดับ ไฟฟ้าจากระบบเซลล์แสงอาทิตย์จะถูกนำไปใช้เป็นไฟฟ้าสำรอง และหากไฟฟ้าหลักไม่ดับ ไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ก็จะถูกป้อนไปลดค่าไฟฟ้า ระบบนี้จะเหมาะสำหรับกับอุปกรณ์ที่ต้องการระบบสำรองไฟ เช่นโรงพยาบาล เซิฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสาร และระบบอื่นๆอีกมากมาย
แม่ตาวคลีนิค เป็นคลีนิคที่มุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ยากไร้ ยากจน ให้กับประชาชนแถบแนวชายแดนไทย เนื่องจากปัญหาหนึ่งของคลีนิคคือไฟตกหรือดับบ่อย มีผลต่อการรักษาผู้ป่วย จากปัญหานี้ทางมูลนิธิ BGET ได้รับความช่วย เหลือจาก UNDP สนับสนุนระบบสำรองไฟฟ้าพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 11 กิโลวัตต์ เป็นแบบ Grid interactive เนื่องจากการเดินทางลำบาก ดังนั้นการออกแบบจึงถูกแยกออกเป็น 2 ชุด ด้วยเหตุผลที่ว่า หากมีระบบหนึ่งระบบใดไม่สามารถทำงานได้ ก็ยังมีระบบสำรองสามารถทำงานได้อยู่ ทางเอ็นจินีโอ ได้รับเกียรติติดตั้งระบบ ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาให้แฟนๆ เอ็นจินีโอ ได้ชมและเรียนรู้ไปด้วย
เมื่อทีมงานเอ็นจินีโอ ไปถึงทางกลุ่ม BGET ได้ออกแบบ และสร้างโครงสร้างรองรับแผงเซลล์ไว้เรียบร้อยแล้ว ทางเราเพียงแต่วางรางอะลูมิเนียมเพื่อจะนำแผงเซลล์วาง
เมื่อวางรางเรียบร้อย ไม่ปล่อยเวลาให้เสียไป เพราะเข้าหน้าฝนแล้ว ฝนตกทั้งวัน ไม่มีวี่แวว ว่าจะหยุดเลย
ทีมงานอีกชุด ก็ทำการยึดรางอะลูมิเนียมของ ชุดที่ 2
เมื่อวางแผงเสร็จก็ทำการเชื่อมต่อแผงเซลล์ (wiring) การเดินสายระบบนี้ค่อนข้างยากกว่าระบบ On grid system เพราะว่าการเชื่อมต่อเป็นแบบต่อขนาน 2 แผง ต่อ 1 ชุด และนำมาขนานกัน
สายไฟค่อนข้างเยอะมาก...... ระยะติดตั้งเครื่องชาร์ทประจุค่อนข้างไกล ต้องใช้สายไฟ DC ขนาด 25 มิลลิเมตร (แค่ค่าสายไฟก็หน้ามืดแล้ว)
ใกล้แล้วการเก็บสายใต้แผง ใส่ท่อ มีตู้รวมสายไฟที่ถูกออกแบบเป็นพิเศษ
แต่ละสตริงค์มี Diode ทำหน้าที่ Block กระแสของแผงเซลล์ที่อาจจะย้อนกลับมาได้ กรณีมีการบังเงาบางชุด หรือบางสตริงค์ ซึ่งจะทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์ และระบบสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
อยู่ใต้ฟ้าจะกลัวอะไรกับฝน แต่เล่นตกเช้า บ่ายเลยนะ......
ตัวอย่างการเดินสายไฟใต้แผงเซลล์ ไม่เกะกะ ไม่รกลูกตา เพราะเราใส่ใจในรายละเอียด
ภายในห้อที่เตรียมไว้เป็นห้องใส่อุปกรณ์ อีกทีมเริ่มติดตั้งอุปกรณ์ เช่นเครื่องชาร์ทประจุ, เครื่องแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์มอนิเตอร์ต่างๆ รวมถึงแบตเตอรี่ ล้วนแต่ใช้ของระดับฟรีเมี่ยมเลย ยี่ห้อ Outback power สันชาติ อเมริกา นำเข้าจากอเมริกาโดยตรง (ไม่ได้ประกอบจีน) เรื่องชื่อเสียงไม่ต้องห่วง www.outbackpower.com มีผลงานทั่วโลกเป็นเครื่องการันตีได้อย่างดี
เครื่องชาร์ทประจุแบบ MPPT ยี่ห้อ Outbackpower ขนาด 80A จำนวน 3 เครื่อง แค่ดูรูปลักษณ์ภายนอกก็กินขาดแล้ว
เมื่อสำเร็จรูปร่างหน้าตาของระบบ มีระบบเก็บข้อมูลค่าการผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ ผ่านการบัณทึกข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นปี
อินเวอร์เตอร์ ขนาด 3 กิโลวัตต์จำนวน 3 เครื่อง จากประเทศอเมริกา สามารถต่อขนานกันได้ ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าขาออกได้สูงสุดถึง 9 กิโลวัตต์
เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็ได้เวลาแนะนำการใช้งานให้กับชาวบ้าน เป็นหัวใจเลยทีเดียว บ่อยครั้งเราเจอปัญหาแบบเส้นผมบังภูเขา การแก้ปัญหาที่ดีคือสอนให้ใช้งาน และแก้ปัญหาเบื้องต้นได้
เมื่อทุกอย่างเริ่มลงตัว โฉมหน้าผู้อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังมาเรากันเลย เลยจัดไป 1 รูป
และแล้วก็สำเร็จ ได้ใช้ประโยชน์ แจ๋วจริง เจ๋งจริง
อีกมุมหนึ่ง ใช้งานจริง กับของจริง...
อีกมุมของการใช้ประโยชน์ ความลงตัว เยี่ยมจริงๆ
ขอขอบคุณ มูลนิธิ Border Green Energy Team (BGET) http://www.bget.org ที่ให้โอกาส ทีมงานเอ็นจินีโอ ได้มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้ เราหวังว่าจะมีโอกาสได้ร่วมงานกันอีก
เอ็นจินีโอของขอบคุณ ทุกท่านที่ให้โอกาสเรามา ณ โอกาสนี้
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่มที่ 053 222760 หรือมาเยี่ยมชมที่สำนักงานของเราและท่านจะพบกับโลกของพลังงานที่แท้จริง